เคยได้ยินคำนี้ไหม ?
เดี๋ยวเราจะกลับมาแก้ไข !!
เดี๋ยวค่อยทำ ทำอันนี้ก่อน
เรามักจะเดี๋ยว ... สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือ
สิ่งที่บอกว่าเดี๋ยวจะกลับมาทำ
จะไม่เคยถูกหยิบมาทำเลย เพราะว่า
งานในมือมีแต่เร่งด่วนและด่วนมาก
ทำไมนะ ?
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เจอบ่อย ๆ มั้ง !!
เมื่อใกล้สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า deadline
(คนทำไม่ได้กำหนด แต่คนกำหนดไม่ได้ทำหรือทำด้วยปาก)
งานทุกอย่างดูเร่งด่วนและสำคัญไปหมด
มีงานบางส่วนเราเห็นแล้วว่า มันควรแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ดูคร่าว ๆ แล้วอาจจะต้องทำการออกแบบใหม่บางส่วน
น่าจะใช้เวลาประมาณครึ่งวันน่าจะเสร็จ
แต่เรามักจะบอกว่า เดี๋ยวค่อยทำก็ได้
เพราะว่ามีงานอื่นที่เร่งกว่า ผลที่ตามมาคืออะไร ?
หรือบางครั้งมีการแก้ไขแบบเร่งด่วน ก็ต้องแก้ไขไป
โดยที่ไม่ได้ทำการทดสอบทั้งหมด
ผลที่ตามมาคืออะไร ?
จึงมีคำพูดติดตลกคือ Later is Never !!
และผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ?
สิ่งเหล่านี้มันคือ สัญญาณเตือนอะไรบางอย่างหรือไม่
ที่เราควรต้องหยุดคิดหน่อยว่า
อะไรคือผลที่ตามมาจากคำว่า เดี๋ยวทำทีหลัง !!
ความเสี่ยงเป็นอย่างไรบ้าง เรากลับมาทำได้จริง ๆ ใช่ไหม
หรือเป็นเพียงคำพูดที่ดูดี
แต่ความจริงคือ ไม่ทำหรอกนะ
สิ่งที่ทำมันคือ workaround (แก้ผ้าเอาหน้ารอด)
หรือ มันคือ solution แก้ไขปัญหาจริง ๆ
เรื่องนี้มันบ่งบอกถึงคำว่า มืออาชีพในสิ่งที่ทำหรือไม่ (professional)
คำว่าเดี๋ยวค่อยทำ มันมีอะไรบ้างนะ ?
- เดี๋ยวเราค่อยปรับปรุง code ให้ดีภายหลัง ตอนนี้ทำให้มันเสร็จ ๆ ก่อน
- ทำ ๆ ไปก่อน เดี๋ยว requirement จริง ๆ ก็จะตามมา
- เดี๋ยวค่อยแก้ bug
- เดี๋ยวค่อยเขียน test
- เดี๋ยวค่อยสร้าง feature ที่ลูกค้าต้องการ
- เดี๋ยวค่อยแก้ไข code ชุดนี้ เพื่อให้ test ผ่าน
- เดี๋ยวค่อยแก้ไข code ที่มันซ้ำซ้อน ทำการ copy and paste มาก่อนเลย
- เดี๋ยวค่อย deploy เพราะว่ายังไม่พร้อม
- เดี๋ยวเราค่อยทำเรื่อง performance testing
วันนี้คุณพูดคำว่าเดี๋ยวบ้างหรือยัง ?
ควรเดี๋ยว หรือ ลงมือทำตอนนี้เลยดีกว่ากัน ?