อ่านหนังสือ The Art of Readable Code: Simple and Practical Techniques for Writing Better Code
ไปเจอเรื่องที่น่าสนใจคือ
ความสามารถหนึ่งที่สำคัญของ developer ที่ต้องมี
นอกเหนือจากการ coding นั่นก็คือ
รู้ว่าเมื่อใดที่ไม่ควรเขียน code
เนื่องจากบ่อยครั้งมักจะเขียนเยอะไป
Developer รู้ว่า code ที่เขียนขึ้นมานั้น
- ต้องอ่านและเข้าใจได้ง่ายทั้งจากตัวเราเองและผู้อื่น
- ต้องผ่านการทดสอบมาทั้งหมด
- ต้องไม่เพิ่มข้อผิดพลาดเข้ามายังระบบทั้งปัจจุบันและอนาคต
แต่ว่าเมื่อใดที่ไม่ควรเขียน code บ้างละ ?
ถ้าเรารู้ว่าเมื่อใดต้องไม่เขียน code แล้ว
ผลที่ตามมาคือ code จะมีขนาดเล็กหรือมีเท่าที่ต้องการและจำเป็นจริง ๆ
แต่โชคไม่ดีที่เราพบว่า
เมื่อเวลาผ่านไปนานเท่าไร
Code ของระบบงานกลับใหญ่โตขึ้นเรื่อย ๆ
จนอยู่เหนือการควบคุมใด ๆ
ยากต่อการดูแลรักษาอย่างมาก แสดงดังรูป
ความยากคือ code ที่ไม่จำเป็นมันเป็นแบบไหน ?
ถ้าลบ code เหล่านั้นทิ้งไป มันจะไม่ส่งผลต่อระบบใช่ไหม ?
แต่บางคนบอกว่า วันที่ productivity ดีมาก ๆ คือ
วันที่ได้ลบ code ทิ้งไป !!
ดังนั้นก่อนที่จะเขียน code
Developer ควรเข้าใจก่อนว่า
เป้าหมายหลักของสิ่งที่กำลังทำคืออะไรกันแน่
ถ้าทำไปแบบไม่เข้าใจ และ ไม่ชัดเจน
ก็จะมีแต่ความกลัว
เพื่อลดความกลัว จะเขียน code ให้เยอะ ๆ เข้าไว้
ผลที่ตามมาคือ code ที่ไม่จำเป็นเต็มไปหมด
จะลบทิ้งก็ทำไม่ได้แล้ว
ปล. มันมีเส้นบาง ๆ ระหว่าง good enough กับ perfect !!
มาเน้นที่การเขียน code ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการก่อนดีไหม ?
Keep coding ครับ
ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดจากการเขียน code
เรียนรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้น และปรับปรุงกันอย่างต่อเนื่อง