Quantcast
Channel: cc :: somkiat
Viewing all articles
Browse latest Browse all 1997

E-Commerce :: 4 หน้าหลักที่ควรทำ Performance test

$
0
0

Screen Shot 2558-11-13 at 9.52.25 AM

Screen Shot 2558-11-13 at 9.52.25 AM ข้อมูลจาก BizReport ได้ทำการสรุปสิ่งที่เว็บ e-commerce ทุก ๆ ที่ ควรต้องทำก่อนช่วงวันหยุดยาว หรือ ช่วงที่มีกิจกรรมต่าง ๆ นั่นก็คือ Performance testing นั่นเอง ซึ่งแนะนำให้ทำการทดสอบอย่างน้อยที่สุด คือ 4 หน้า มาดูกันว่ามีหน้าไหนบ้าง ? แน่นอนว่า ถ้าหน้าเว็บมัน load หรือ แสดงข้อมูลได้ช้า ย่อมส่งผลที่ไม่ดีต่อเว็บ หรือ brand นั้น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งในช่วงวันหยุด เทศกาลต่าง ๆ รวมทั้งช่วงมีกิจกรรม โปรโมชันต่าง ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ๆ ลองคิดดูสิว่า ถ้าระบบต้องสูญเสียลูกค้าไปเพราะว่า ไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้ ระบบไม่สามารถแสดงข้อมูลได้ คุณจะสูญเสียรายได้ไปสักเท่าไร ? รวมทั้งอาจจะต้องโดนคู่แข่งแย่งลูกค้าไปอีก ? มันคงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมรับได้ใช่ไหม ? ดังนั้น เว็บ e-commerce ควรต้องทำ performance testing ของระบบอยู่อย่างเสมอ แต่จะทดสอบทั้งระบบคงเป็นไปได้ยาก สำหรับระบบที่ไม่เคยทำการทดสอบเลย ดังนั้น จึงขอแนะนำ 4 หน้าหลักสำคัญ ๆ ดังนี้

1. หน้า หรือ ขั้นตอนที่ลูกค้า และ ผู้ใช้งานเข้าใช้มาก ๆ บ่อย ๆ

ดังนั้น เรื่องสถิติการใช้งานของระบบ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย หลาย ๆ ระบบมีข้อมูลเหล่านี้ แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ และ ใช้งานได้ !! ส่วนใหญ่จะเป็น browse-to-purchase โดยการทดสอบควรที่จะทำการจำลองผู้ใช้งานจำนวนมากมาย และทำการทดสอบหลายหลาย flow การทำงาน (ในเรื่องเดียวกันนะ) ก่อนทำการทดสอบควรรู้ตัวเลขพื้นฐานของระบบเช่น จำนวนผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันในหนึ่งหน่วยเวลา รวมทั้งเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่าทำโดยไม่มีการวางแผนโดยเด็ดขาด !! แต่ถ้าไม่รู้ข้อมูล ให้ทำการทดสอบแบบขั้นบันไดไปเรื่อย ๆ เพื่อดูว่าระบบมีขีดจำกัดที่ตรงไหน เพื่อทำให้เรารู้ว่า เมื่อไรเราควรที่ต้องมีแผนรองรับ หรือ ปรับปรุงต่อไป ไม่ใช่มาทำการวางแผน และ แก้ไขเมื่อระบบล่ม !! ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ดีอย่างแน่นอน Flow การทดสอบควรเป็นดังนี้
  1. เปิดหน้าแรกของระบบ (Home page)
  2. ทำการค้นหาสินค้า
  3. เลือกสินค้าที่ต้องการซื้อ
  4. เพิ่มสินค้าเข้าตะกร้า (Shopping cart)
ต้องทำให้มั่นใจว่า ไม่มีขั้นตอนไหนที่ทำงานช้า หรือ สะดุด

2. ทดสอบส่วนของ Shopping cart และขั้นตอนการ Checkout

เป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ของระบบ e-commerce เพราะว่า มันคือส่วนชี้เป้นชี้ตายของระบบเลยว่า ลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือไม่ ? ลูกค้าจะจ่ายเงินได้หรือไม่ ? ลองคิดดูสิว่า ถ้าขั้นตอนการทำงานใน shopping cart มีปัญหา หรือการ checkout มีปัญหา แน่นอนว่า ลูกค้าจะไปซื้อสินค้าที่อื่นอย่างแน่นอน เพราะว่า เกิดความไม่เชื่อมั่นต่อระบบแล้ว การจะกลับมาใช้อีกครั้งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย

3. อย่าลืมทดสอบ Mobile app ด้วยล่ะ

ถ้าดูจากข้อมูลการใช้งานในปัจจุบัน พบว่ามีการใช้งานผ่าน Mobile เยอะมาก ๆ บางระบบมีการใช้งานผ่าน mobile เป็นหลักไปแล้วด้วย ดังนั้น ระบบ e-commerce ควรทดสอบผ่าน mobile ด้วย ไม่ว่าจะเป็น web บน mobile browser หรือ native mobile app ก็ตาม เพื่อทำให้มั่นใจว่า ระบบที่พัฒนานั้น มันเหมาะสมต่อการใช้งานผ่าน mobile เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน และ ยอดการซื้อขายอีกด้วย

4. ทดสอบหน้าโปรโมชันใหม่ ๆ รวมทั้งถ้า Landing page ต่าง ๆ ด้วย

เป็นส่วนที่ผู้ดูแลระบบ e-commerce ไม่ค่อยมีข้อมูลมากนัก ถึงมีมันก็ไม่ค่อยตรงสักเท่าไร เนื่องจากเรื่องของโปรโมชัน มันมีปัจจัยต่าง ๆ เยอะมาก ดังนั้น แนะนำให้ประมาณการผู้ใช้งานไว้สูง ๆ เลย (Overestimate เข้าไว้) จากนั้นทำการทดสอบซะ เพื่อทำให้เรามั่นใจได้ว่า ระบบยังรับมือกับจำนวนผู้ใช้งานสูง ๆ ได้ โดยไร้ซึ่งปัญหา หรือ ถ้ามีปัญหาก็ให้เกิดน้อยที่สุด หรือ เราสามารถรู้ได้ก่อนลูกค้านั่นเอง

แนะนำขั้นตอนการทำ Performance testing นิดหน่อย

  1. พิจารณาว่า scenario และ flow ใด มันสำคัญมาก ๆ สำหรับระบบ
  2. หาจำนวน concurrent user ในช่วง peak time มาซะ
  3. ทำการสร้าง testing environment เพื่อรองรับข้อ 1 และ 2
  4. ทำการเขียน script การทดสอบ รวมทั้งเตรียมข้อมูลสำหรับทำการทดสอบ ใช้ข้อมูลจริงนะครับ
  5. เริ่มทำการทดสอบด้วยจำนวน concurrent user น้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มแบบ step-by-step เพื่อหาค่า base line
  6. ทำการ monitoring ระบบ ไม่ว่าจะเป็น server, network, logging, application, database เพื่อทำการระบุว่าส่วนไหนเกิดปัญหา จากนั้นจึงทำรายงานการทดสอบ
  7. เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ให้ทำการแก้ไขทั้ง application, software และ hardware ต่างๆ
  8. เมื่อแก้ไขปัญหาเรียบร้อยให้ทำการเริ่มทดสอบใหม่อีกครั้ง จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ และ เปรียบเทียบ เพื่อสรุปผลต่อไป
แสดงขั้นตอนการทดสอบดังรูปEcommerce-Performance-Testing

สุดท้ายแล้ว

ก่อนจะทำการทดสอบ ควรมีการเตรียมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผู้ใช้งานที่คาดหวัง ไม่ว่าจะเป็น flow การทำงานที่ถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อทำให้รู้ว่าคุณกำลังทำอะไร เพื่ออะไร มิใช่ทำไปแบบมั่ว ๆ จะเห็นได้ว่า ถ้ามีการวางแผน พูดคุย และทำการทดสอบอยู่อย่างเสมอ เรื่องของ Performance testing มันจะไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย
ปัญหามันเพียงแค่ว่า คุณคิดและทำ Performance testing ตอนไหนเท่านั้นเอง ?
วันนี้ทำ Performance testing แล้วหรือยัง ?

Viewing all articles
Browse latest Browse all 1997

Trending Articles