จากบทความเรื่อง New research: what sets top-performing DevOps teams apart
ทำการสรุปผลการสำรวจเรื่อง Accelerate: State of DevOps 2018: Strategies for a New Economy
ว่าด้วยเรื่องของผลของการนำแนวคิด DevOps มาประยุกต์ใช้
ว่า deploy ระบบได้บ่อยไหม
ว่า lead time ของการทำงานลดลงหรือรวดเร็วขึ้นไหม
ว่าข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มันลดน้อยลงไหม
ว่าสามารถ recovery ระบบงาน จากความผิดพลาดได้รวดเร็วขึ้นไหม
ดังนั้นมาดูผลสรุปจากแบบสำรวจนี้กัน
น่าจะพอมีประโยชน์สำหรับใครที่นำแนวคิด DevOps เข้ามาใช้ในองค์กร
จากบทความข้างต้นอธิบายเรื่อง DevOps ได้น่าสนใจ
แนวคิดและแนวปฏิบัติของ DevOps ได้เข้ามาเป็นส่วนหลักในองค์กร มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบที่มีความน่าเชื่อถือและยืดหยุ่น นั่นคือ สามารถ scale ได้ง่ายตามการใช้งาน นั่นคือ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งานและลูกค้า รวมทั้งนำ feedback จากผู้ใช้งานและลูกค้ามาปรับปรุงให้รวดเร็วที่สุด ดังนั้นขั้นตอนการพัฒนาระบบงาน ตั้งแต่การ requirement -> analysis -> design -> develop + test -> deploy -> maintain -> feedback from user/customer และวนไป ต้องรวดเร็วและมีคุณภาพ และที่สำคัญมาก ๆ คือ"DevOps is an important component of fast-moving businesses and IT teams. "ไม่ว่าขั้นตอนการพัฒนาระบบงานจะเป็นแบบไหน ก็สามารถนำแนวคิดและแนวปฏิบัติของ DevOps มาใช้เพื่อปรับปรุงได้
ผลจากการสำรวจสามารถสรุปได้ดังนี้
เริ่มจากการลงมือทำ แต่ต้องลงมือทำจากปัญหา การลงมือทำไปนั้นมันทำให้ดีขึ้นหรือไม่ ต้องค่อย ๆ ทำ ค่อย ๆ เก็บผล ค่อย ๆ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อทำให้เห็นว่า แนวปฏิบัติอะไรที่เหมาะสมและทำให้เราวิ่งไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง ยกตัวอย่างจากผลการสำรวจ การเพิ่มเรื่องของ continuous testing, monitoring และการจัดการข้อมูลใน database เข้าไปยัง deployment pipeline หรือขั้นตอนการ deploy แบบอัตโนมัตินั่นเอง เพื่อช่วยปรับปรุงการส่งมอบให้เร็วและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แนวปฏิบัติตาม DevOps นั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการวัดผล การวัดผลนั้นสำคัญมาก ๆ แต่ถ้าเรายังใช้การวัดผลแบบเดิม ๆ สำหรับแนวคิดใหม่ มันก็ไม่น่าจะถูกต้องใช่ไหม ? ต่อมาสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ Focus outcome, not output นั่นคือให้สนใจคุณค่าที่ได้ส่งมอบออกไปให้ทาง business และลูกค้า มากกว่าจะให้ความสนใจไปกับปริมาณของสิ่งที่ทำ อีกสิ่งที่สำคัญคือ ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เรากลับพบว่า ถ้าเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาแล้ว มักจะส่งผลให้เราเพิ่มขั้นตอนการทำงานมากขึ้น มักจะส่งผลให้เรา deploy ได้ช้าลง มักจะส่งผลให้เรา deploy ได้น้อยลง เพราะว่าเราต้องทำการตรวจสอบและทดสอบ เพื่อความถูกต้องมากยิ่งขึ้น จากผลการสำรวจพบว่า ระบบที่มีความผิดพลาดสูงนั้น มักจะมาจาก การ deploy แต่ละครั้งมีขนาดที่ใหญ่ และไม่สามารถ deploy ได้บ่อย แต่องค์กรที่มีการนำ DevOps ไปใช้แล้วได้ผลเชิงบวกนั้น แต่ละครั้งในการ deploy จะมีขนาดไม่ใหญ่ สามารถ deploy ได้ตามความต้องการ ในแต่ละวันสามารถ deploy ได้หลายครั้ง ผลที่ตามมาคือ ข้อผิดพลาดจากการ deploy ก็น้อยลงอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ทำการ deploy ประมาณสัปดาห์หรือเดือนละครั้ง ตรงนี้น่าจะทำให้เห็นแนวทางดี ๆ บ้างนะลองไปดูรายงานเพิ่มเติมดูนะครับ [PDF]