การพัฒนา software ที่ว่าทำได้เร็วแล้ว
การพัฒนา Mobile app ยิ่งต้องการความรวดเร็วกว่ามาก
ดังนั้น Mobile developer จำเป็นต้อง
รับรู้ข่าวสารการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ลอง เล่น ใช้ ทิ้ง ให้เป็น
เพื่อทำการปรับปรุงตัวเองและระบบงานต่อไป
โดยเฉพาะ Android Developer ด้วยแล้วจำเป็นต้อง
เรียนรู้และปรับปรุงตัวเองอยู่อย่างเสมอ
ทั้งการเขียน code ให้ดีและมีคุณภาพ
ทั้งการทดสอบ app ที่พัฒนา
ทั้งการใช้เครื่องมือในการพัฒนาต่าง ๆ
ทั้งการรีดศักยภาพของเครื่องมือออกมาใช้งานให้ดีที่สุด
เพื่อทำให้เราเร็วขึ้น แต่ไม่รีบเร่งนะ !! มาเริ่มกันเลย
เรื่องที่ 1 คือการใช้งาน Shortcut ใน Android Studio
เป็นสิ่งที่นักพัฒนาควรฝึกซ้อมไว้จนเป็นนิสัย ถ้ายังไม่ฝึกก็เอา Reference Card ไปฝึกเลย ผมใช้ Mac นะ ส่วน Linux และ Windowsเรื่องที่ 2 คือ Live template ใน android Studio
ซึ่งช่วยลดการเขียน code ลงไปได้อย่างมาก นั่นคือจะช่วยทำให้เราเร็วขึ้น ปล. ต้องรู้และเข้าใจการใช้งานด้วยนะ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ Android Studio Live Template รวมทั้งการ configuration เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย ปล. คนจริงต้องใช้ Canary channel นะครับ !! พังเร็วดี แต่ใช้งาน feature ใหม่ ๆ ก่อนใครเรื่องที่ 3 การเลือกใช้ plugin ใน Android Studio ก็สำคัญ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Tip and trick ของการใช้ plugin List of pliginsเรื่องที่ 4 คือ Emulator
ในตอนนี้น่าจะมีอยู่สองตัวหลัก ๆ ที่ใช้งานกันคือ Genymotion และ Android Emulator แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความเร็วก็ต้องยกให้ Genymotion ส่วน Android Emulator ตามมาติดติดพร้อม feature ที่หลากหลายเช่นกัน ลองดูว่าชอบแบบไหน ลองดูว่าแบบไหนเร็วกว่า ลองดูว่าแบบไหนเหมาะกว่าเรื่องที่ 5 คือการเพิ่มความเร็วให้กับ Gradle !!
เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะว่า Gradle มันขึ้นชื่อเรื่อง build นานอยู่แล้ว แต่ถ้าเราสามารถลดเวลาการ build ได้ ก็จะช่วยให้เราเร็วขึ้นไปอีก ปล. ลดจำนวน method count ก็ช่วยให้ build เร็วขึ้นไปอีกนะ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Reduce build time Build time tracker Speed up your gradle Gradle performance guideเรื่องที่ 6 นำเครื่องมือพวก 3-parties มาใช้งานบ้างนะ
ตัวอย่างเช่น- JSON Viewer
- JSON Generator
- หารูปตามขนาดต่าง ๆ ที่ต้องการ
- หา library หรือ dependency ที่ต้องการผ่าน web
เรื่องที่ 7 เรียนรู้การใช้ ADB command (Android Device Bridge)
เนื่องจากถ้าเราใช้งาน adb command ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว จะสามารถควบคุม device ได้อย่างง่าย ๆ เลย ทั้งการปลด lock หน้าจอ ทั้งการ capture หน้าจอ ทั้งการควบคุมการใช้งาน ทั้งการลบและติดตั้ง app และอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่ Google :: ADB Google :: Shellสุดท้ายแล้วต้องทดสอบบน Emulator และ Device ที่หลากหลายด้วยนะ
รวมทั้งเขียนชุดการทดสอบแบบอัตโนมัติด้วยนะ เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระต่อไปในอนาคต !! ยังไม่พอนะ ยังมี resource อื่น ๆ ให้ติดตามอีกถ้ายังช้าแนะนำให้เปลี่ยนเครื่องนะครับ