Yarn คือ dependency management tool หรือ package manager สำหรับ JavaScript
จากทีมพัฒนาของ facebook
ซึ่งบอกว่าเร็ว และ ง่ายต่อการใช้งาน
และสามารถ share code/package/module ให้คนอื่น ๆ ได้ด้วย
ซึ่งมันมีความสามารถเดียวกับ NPM เลย
เริ่มด้วยการติดตั้ง
ก่อนอื่นต้องทำการติดตั้ง Node.js ก่อนนะ จากนั้นสามารถติดตั้งได้หลายวิธี (Installation) เช่น [code] $brew install yarn หรือติดตั้งผ่าน NPM ก็ได้ !! $npm i -g yarn [/code] จากนั้นลองใช้งานด้วยคำสั่ง [code] $yarn [/code] ถ้าเทียบกับ NMP มันคือ npm install นั่นเองเริ่มใช้งานนิดหน่อย ซึ่งไม่ได้ต่างกับ NPM มากนัก
[code] 1. สร้าง project $yarn init 2. ทำการเพิ่ม dependency/package/module $yarn add <package name> 3. ทำการ update dependency/package/module $yarn upgrade <package name> 4. ทำการลบ dependency/package/module $yarn remove <package name> 5. ทำการติดตั้ง dependency/package/module ของ project ซึ่งกำหนดในไฟล์ package.json $yarn หรือ $yarn install [/code]ปัญหาก็ใช้ได้เลยเมื่อเปลี่ยนจาก npm มาเป็น yarn เช่น
การใช้งานกับ react-scripts ซึ่งทำการสร้างผ่าน create-react-app ในการจัดการ dependency ต่าง ๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาคือ หาไฟล์ script ที่อยู่ใน folder node_modules/.bin/ ไม่เจอ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้งาน react-scripts ได้เลย !! เมื่อไปดูใน issue ของ yarn ก็พบว่ามีคนแจ้งไปแล้ว issue 1058ในเรื่องของ performance เมื่อเทียบกับ NPM
ก็มีการแสดงผลให้ดูที่ Compare Yarn Performance ซึ่งให้ผลการทำงานที่รวดเร็วจริง ๆ และจากการลองใช้งานมันก็เร็วกว่าจริง ๆ นะ ส่วน feature อื่น ๆ ยังไม่ได้ทดลองมากนักปิดท้ายด้วยการเปรียบเทียบชุดคำสั่งกับ NPM นิดหน่อย
ซึ่งมีชุดคำสั่งที่เหมือนกันมาก ๆ ดังนี้- npm init => yarn init
- npm run => yarn run
- npm test => yarn test
- npm login => yarn login
- npm link => yarn link
- npm publish => yarn publish
- npm cache clean => yarn cache clean
ว่าแล้วก็ลองใช้กันดูครับ
ยังคงไปดึง dependency ต่าง ๆ มาจาก NPM repository เหมือนเดิมนะ และยังมี dependency manager อื่น ๆ ให้ใช้อีกนะ- ied
- pnpm
- npm-install
- npmd