เนื่องจากทีมพัฒนาที่ทำด้วยนั้นใช้งาน Postman กันเยอะมาก ๆ
แต่เมื่อลงไปดูการใช้งาน พบว่ายังใช้ประโยชน์จาก Postman น้อยมาก ๆ
นั่นคือ ใช้เพียงทดสอบ API ว่าทำงานได้หรือไม่เท่านั้น
ดังนั้นจึงทำการแนะนำการใช้งานที่น่าจะมีประโยชน์ไว้นิดหน่อย
1. สร้าง Collection ไว้สำหรับเก็บชุดของ API ที่ทดสอบกันหรือไม่ ?
ส่วนใหญ่มักจะบันทึกรวม ๆ กันไว้โดยไม่แยกเป็นกลุ่ม ทำให้มีปัญหาเมื่อมีจำนวน API เยอะ ๆ ดังนั้นแนะนำให้บันทึกแยกเป็น Collection ไปนะ2. เมื่อเราสร้างเป็น Collection แล้วเราสามารถ run API ทั้งหมดในแต่ละ Collection ได้เลยนะ
เท่าที่เห็นคนใช้งาน Postman จะ run ทีละ API ไปเรื่อย ๆ เห็นแล้วขัดใจน่าดู !! ดังนั้นเมื่อสร้างเป็น Collection แล้วเราสามารถ run ทั้งหมดในการกดปุ่มเดียวเท่านั้น จากนั้นทำการกดปุ่ม Run และ Start Test ได้เลย จะทำการทดสอบ API ทุกตัวใน Collection นั้น ๆ รวมทั้งสามารถกำหนดจำนวนรอบในการทดสอบได้อีกด้วยนะ ผลการทำงานเป็นดังนี้3. เมื่อเราต้องทำการ run API เดิมใน environment ต่าง ๆ จัดการอย่างไร ?
บางคนก็ทำการเปลี่ยน IP หรือ domain name ใน URL ของแต่ละ API เลย บางคนดีขึ้นมาหน่อยบันทึกแยกกัน บางคนดีขึ้นมาหน่อยทำการบันทึกแยก Collection แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้า environment ต่าง ๆ เปลี่ยนล่ะ เช่น IP หรือ domain name เปลี่ยน สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ เข้าไปแก้ไขใน API ทุก ๆ ตัวนะสิ !! มันลำบากมาก ๆดังนั้นสิ่งที่แแนะนำคือ การกำหนด environment ไปเลยมีขั้นตอนดังนี้ เข้าไปจัดการ environment กัน ทำการสร้าง Environment แยกกันตามที่ต้องการ เช่น DEV, SIT, TEST และ UAT เป็นต้น โดยในแต่ละ environment ทำการเพิ่ม key และ value แยกตาม environment กันไป เช่น SERVER-URL = my-domain.com ในการอ้างถึง key ใน Environment สามารถทำได้ด้วย {{key name}} จากนั้นก่อนทำการ run แต่ละ API ก็ให้เลือกก่อนว่าจะทดสอบด้วย environment อะไร ?
ถ้าสังเกตจะเห็นว่าในการ run แบบ Collection นั้น สามารถเลือก Environment ได้ด้วยนะ แถมสามารถจัดการข้อมูลทดสอบใน data file ทั้ง CSV และ JSON ได้อีกด้วย
4. API ต่าง ๆ ใน Postman สามารถ share กันได้นะ
ทั้งการทำงานเป็นทีม หรือ sync ผ่าน account ได้ แต่ที่ชอบใช้คือ การ export collection ออกมาเป็นไฟล์ จากนั้นเก็บไว้ใน Version Control ต่อไป เมื่อมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงก็ทำการ import เข้ามาใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ใช้งานร่วมกันได้แล้ว5. แต่ละ API เราสามารถเขียน script สำหรับการทดสอบได้นะ รู้ยัง ?
ทั้งการตรวจสอบ Response code ทั้งการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งกลับมา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำได้มากกว่ามานั่งดูด้วยตานะครับ !!ยังไม่พอเราสามารถทำการ run Postman ผ่าน command line ได้อีกด้วยนะ
ซึ่งต้องติดตั้ง Newman ก่อน ด้วยคำสั่ง [code] $npm install -g newman [/code] จากนั้นทำการ export ทั้ง Collection และ Environment จาก Postman ออกมาเป็นไฟล์ และทำการ run ผ่าน newman ด้วยคำสั่ง [code] $newman -c <collection file> -e <environment file> [/code] จะแสดงผลการทำงานดังนี้สุดท้ายยังสามารถนำไปใส่ในระบบ Continuous Integration ได้อีกด้วย คำถามคือ วันนี้เราใช้ Postman กันอย่างไรบ้าง ?