![net-00]()
![net-00]()
บริษัท Microsoft ได้เปิดตัว
.Net Core ออกมา
เป็นการเปลี่ยนแปลงของ Microsoft ที่น่าสนใจอย่างมาก
ซึ่งทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาระบบงาน
ด้วยภาษา C# และ F# รวมไปถึง ASP.Net บนระบบปฏิบัติใดก็ได้
ทั้ง Windows, Linux และ Mac
ยังไม่พอนะ มี Image สำหรับ Docker มาให้ใช้งานอีกด้วย
ซึ่งถือได้ว่ามีประโยชน์มาก ๆ ต่อนักพัฒนา
ดังนั้นนักพัฒนาลองมาใช้งานกันดีกว่า
Software สำหรับการทดลองใช้งานประกอบไปด้วย
- Mac OS X
- Docker for Mac
- NPM (Node Package Manager)
- .Net Core
โดยการทดลองใช้งานผมทำผ่าน
Docker นะ
สามารถทำตาม web ได้เลย คือ
[code]
$docker run -it microsoft/dotnet:latest
$mkdir hwapp
$cd hwapp
$dotnet new
$dotnet restore
$dotnet run
[/code]
ผลการทดลองเป็นดังนี้
![net-01]()
จะเห็นว่าใช้งานไม่ยากเลยนะ
จากนั้นมาดูขนาดของ image ของ Microsoft .Net หน่อยว่ามีขนาดเท่าไร
พบว่ามีขนาด 548.6 MB
ซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควรแต่รับได้นะ !!
จากนั้นลองมาสร้างระบบงานจริง ๆ กันดีกว่า
แนะนำให้ไปอ่านเอกสารจาก
ASP.NET Core Documentation
เนื่องจากมีให้ครบเลย
ดังนั้นมาลองสร้างระบบงานง่าย ๆ มาลองกันดีกว่า
1. เริ่มต้นสร้าง project ด้วย Yeoman
เพื่อความง่ายสำหรับการสร้าง project
ทาง Microsoft ได้เตรียม template ของ Visual Studio Project ไว้ให้
ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน
Yeoman
ช่วยสร้าง project ขึ้นมาแบบง่าย ๆ
แต่ต้องทำการติดตั้ง NPM ก่อนนะ
จากนั้นก็ติดตั้งดังนี้
[code]
$npm install -g yo bower grunt-cli gulp
$npm install -g generator-aspnet
[/code]
2. เมื่อติดตั้งทุกอย่างเรียบร้อยก็สร้าง project กัน
ทำการสร้าง project ด้วยคำสั่ง
[code]
$yo aspnet
[/code]
จะมี project ให้เลือกเยอะเลยทั้ง
- Web application
- Console application
- Web API application
- Class library
- Unit test project (xUnit.net) ซึ่งชอบมาก ๆ
โดยในตัวอย่างนี้ผมเลือก Web API application
แสดงดังรูป
![net-02]()
จากนั้นทำการตั้งชื่อ project ซะ
แล้ว Yeoman จะทำการสร้าง project เริ่มต้นให้ดังรูป
แถมอธิบายขั้นตอนการ run ให้พร้อม
![net-03]()
จากนั้นทำการเปิด code ขึ้นมาดูหน่อย
ซึ่งผมใช้ Visual Studio Code แสดงดังนี้
สำหรับคนที่ติดตั้ง .Net Core ไว้ที่เครื่อง
สามารถทำการทดสอบ run ได้ดังนี้
[code]
$dotnet restore
$dotnet build
$dotnet run
[/code]
จากนั้นก็ทดสอบใช้งานผ่าน browser ด้วย url
http://localhost:5000/api/values
ผลการทำงานเป็นดังนี้
![net-05]()
เท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว ง่ายไหมล่ะ !!
ยังไม่พอนะ พอดีไปเห็นใน project พบว่ามีไฟล์ Dockerfile มาให้ด้วย
ดังนั้นสามารถ run บน Docker ได้อีกด้วย
มาลองใช้งานกันดีกว่า
[code]
$docker build -t api .
$docker run -it -p 5000:5000 --rm --name api api
[/code]
เพียงเท่านี้ก็ใช้งานผ่าน Docker ได้เลย
เป็นวิธีการที่ง่าย ๆ มาก
ซึ่ง Developer ทุกคนสามารถใช้งานได้เลย
รออะไรอยู่ ไปลองใช้งานกันเลยครับ