Image may be NSFW.
Clik here to view.
Clik here to view.

ใน Technology Radar Vol. 24 นั้นมีรายละเอียดที่น่าสนใจคือ
สิ่งที่ถูก Hold คือ proceed with caution
นั่นคือ ดำเนินการอย่างระมัดระวังเพราะว่า
อาจจะส่งผลแย่มากกว่าดี !!
มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ในแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 Techniques
เรื่องที่น่าสนใจ ประกอบไปด้วย
ตัวแรกคือ GitOps ซึ่งผลยังไม่เคยใช้งาน
แต่จากเอกสารบอกว่า
มันดีนะ
แต่เมื่อใช้งานแบบ branch per environment
จะก่อให้เกิดปัญหาในการ config ของแต่ละ environment ขึ้นมา
ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับ branch ที่มาอายุนาน ๆ ใน GitFlow นั่นเอง
ตัวที่สอง คือ Layered platform teams
เป็นการแบ่งทีมตาม layer หรือ technology
ทำให้เกิด component team เช่นเดิม
ยกตัวอย่างเช่น แยกเป็น frontend, backend และ database team
แน่นอนว่า ปัญหาเดิม ๆ ในการทำงานก็ตามมา
ตัวที่สาม คือ Separate code and pipeline ownership
จะเป็นปัญหาเดียวกันกับเรื่องก่อนหน้านี้
คือแยกทีมทำหรือรับผิดชอบระหว่าง code และ pipeline
ก่อให้เกิดการทำงานของใครของมัน
อาจจะต้องมีการสร้าง process การทำงาน
เช่นเปิด ticket/request การทำงานและเปลี่ยนแปลง
ผลคือ ช้าลงไปอีก
อีกทั้งยังมีเรื่องของ SAFe และการ peer review equals pull request อีกด้วย
กลุ่มที่ 2 Tools
มีตัวเดียวคือ AWS CodePipeline
ซึ่งผมก็ไม่เคยใช้งาน
แต่จากเอกสารบอกว่า
เพียงแค่จะทำ process ง่าย ๆ กลับต้องใช้เวลาและการ setup ยุ่งยาก และมากเกินไป
ดังนั้นน่าจะเป็นเรื่องแนวทางการใช้งานที่ไม่ค่อยยืดหยุ่นและสะดวก
กลุ่มที่ 3 Platforms
มี 2 เรื่องคือ
- Azure Machine Learning ที่ scale ได้ยาก และเอกสารที่ไม่ดีพอ
- Homemade infrastructure-as-code (IaC) products คือทำเองใช้เอง ปัญหาหลัก ๆ คือ product roadmap ที่จะไม่ชัดเจนมากกว่า