![sprint-4]()
![sprint-4]()
วันนี้ระหว่างเดินทางกลับจากเชียงใหม่ เดินผ่านร้านหนังสือในสนามบิน
เห็นหนังสือชื่อว่า
Sprint: How to Solve Big Problems and Test New Ideas in Just Five Days
เพียงแค่เห็นชื่อหนังสือเท่านั้นแหละ หยิบไปจ่ายเงินเลย
ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เปิดดูเนื้อหาในหนังสือเลย
แต่เมื่ออ่านไปได้ 3 บท ก็ต้องหยุด และ มาสรุปกันเลยทีเดียว !!
เริ่มด้วยโครงสร้างของหนังสือ หรือ ของ Sprint นั่นเอง
แสดงดังรูป
เริ่มด้วยที่มาที่ไปของคำว่า Sprint หรือรอบการทำงาน
ว่าทำไมต้อง Sprint ละ 5 วัน ?
โดยมาจากการลองผิดลองถูก
ตั้งแต่รอบละ 2-4 สัปดาห์ พบว่า
รอบการทำงานมันยาวนานเกินไป
และไม่ได้ผลที่ต้องการเมื่อจบ Sprint การทำงาน
หรือได้รับ feedback จากผู้ใช้งานจริง ๆ ช้าไป
บางครั้งจมอยู่กับปัญหา และ ไม่ focus ในเป้าหมาย
อันเนื่องมาจากเป้าหมายมันใหญ่ และ เยอะจนเกินไป !!
จากนั้นทำการแนะนำการเตรียมตัวก่อนเริ่มเข้า Sprint เรียกว่า Set the stage
ต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- เป้าหมายที่ชัดเจนและมีความท้าทายด้วย (Challenge)
- ทีมงานที่ลงตัว (Team)
- มีการจัดการเวลาที่ดี และ พื้นที่การทำงานที่เหมาะสม สำหรับการทำงานของ Sprint (Time and Space)
ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
เนื่องจากถ้าไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน และ ท้าทาย งานนั้นก็ไม่น่าทำ
ในแต่ละ Sprint ควรมีปัญหา และ ความท้าทายที่ใหญ่
ถ้างานมันง่ายไป ใคร ๆ ก็ทำได้แล้ว ผลที่ออกมามันจึงไม่ชัดเจน !!
ที่สำคัญไม่มีปัญหาที่ใหญ่ไปกว่า 1 Sprint หรือ 5 วัน
ดังนั้นสิ่งที่ทีมต้องรู้และเข้าใจ คือ เป้าหมายที่ชัดเจน
และในแต่ละ Sprint ทีมจะต้องเรียนรู้จากมุมมองของ product สุดท้าย
ซึ่งทำให้ทีมเห็นว่า สิ่งที่ทำนั้นยังอยู่ในเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่นั่นเอง
เนื่องจากถ้าไม่มีทีมงานที่ลงตัว มีความพร้อม มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น
ก็ไม่สามารถทำงานที่ดีออกมาได้
แถมมีเวลาเพียง 5 วันเท่านั้น !!
ดังนั้นความสามารถของคนในทีมต้องแจ่มเช่นกัน
ซึ่งต้องประกอบไปด้วยคนที่มีหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- คนที่ตัดสินใจได้ (Decider)
- คนที่คอยกำหนดจังหวะต่าง ๆ ของการทำงาน (Facilitator)
- Expert domain ในเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นต่องานที่กำลังทำ เช่น การเงิน การตลาด เกี่ยวกับลูกค้าสัมพันธ์ เทคโนโลยี และ การออกแบบ เป็นต้น
ทีมจะต้องทำงานกันเป็นทีมเสมอ
เนื่องจากถ้าไม่มีการจัดการเรื่องเวลาที่ดี
ก็จะวางแผนอะไรไม่ได้เลย เช่นการประชุม และ สิ่งรบกวนต่าง ๆ
สิ่งที่ผมชอบมาก ๆ คือ
การอธิบายว่า สาเหตุที่งานไม่คืบหน้าเลย หรือ productivity แย่มาก ๆ
เนื่องจากมีสิ่งรบกวนมากมายตลอดทั้งวัน
เช่น การประชุม, email, มือถือ รวมไปถึงงานแทรกต่าง ๆ มากมาย
แสดงดังรูป
ดังนั้น การทำงานใน Sprint 5 วันนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนจังหวะการทำงานใหม่
โดยให้เริ่มทำงานตั้งแต่ 10.00 - 17.00 น.
ช่วงที่หายไป คือ
- 9.00 - 10.00 น. ให้ทุกคนเตรียมตัวก่อนเริ่มทำงาน
- 17.00 - 18.00 น. ให้ทุกคนหยุดทำงาน พักเหนื่อยก่อนกลับ อย่าลืมว่าต้องทำงานกันทั้งสัปดาห์
ห้ามมีสิ่งรบกวนต่าง ๆ ในระหว่างการทำงานด้วย
นั่นคือ ทุกคนในทีมจะต้อง focus ในงานสูงมาก ๆ
รวมทั้งมีการพักผ่อนระหว่างการทำงานด้วย
แสดงดังรูป
ในหนังสือแนะนำเรื่อง The no-device rule
นั่นคือ ให้ทุกคนปิดโทรศัพท์ และ สิ่งรบกวนต่าง ๆ
หรือถ้าจะรับโทรศัพท์ หรือ chat ก็ให้ออกไปข้างนอก
ไม่ใช่เล่นไป คุยไป ทำงานไป
เพื่อให้ทุกคนมีสมาธิกับงานที่ทำ
เนื่องจากถ้าไม่มีการจัดเตรียมพื้นที่การทำงานที่เหมาะสม ก็ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
เช่น ห้อง โต๊ะ เก้าอี้ พวก whiteboard และ อุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา
Good workspace not to be Fancy
โดยในหนังสือเน้นมาก ๆ เรื่อง whiteboard ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
เนื่องจากทุก ๆ อย่างต้องแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น
ห้ามซ่อนโดยเด็ดขาด เช่น ความคิดเห็น การออกแบบ การทำงานของระบบ
รวมไปถึงโครงสร้างของระบบ ให้เขียนลงใน Whiteboard ทั้งหมด
รวมทั้งการพูดคุยและการประชุมต่าง ๆ
เนื่องจากสมองของคนเราไม่สามารถจดจำอะไรได้มาก และ นาน
ดังนั้น ก่อนเริ่ม Sprint อย่าลืมตรวจสอบ Whiteboard กันนะ
มีคำถามที่น่าสนใจ คือ
งานแบบไหนที่เหมาะกับการทำงานเป็น Sprint ?
คำตอบในหนังสือคือ เหมาะสำหรับงานทุกประเภทนั่นแหละ
ถ้ารู้ว่ามันคืออะไร ?
ถ้ารู้ว่ามันสำคัญอย่างไร ?
ถ้ารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ ?
เนื่องจากการทำงานในช่วงสั้น ๆ มันทำให้เรา focus กับงานนั้น
ดังนั้น จะไม่มีเวลามา drama กันหรอกนะ
ต่อมาทำการอธิบายว่า ในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง
โดยมีเป้าหมายว่า
ในวันสุดท้ายจะต้องทำการทดสอบกับผู้ใช้งานจริง
เพื่อเรียนรู้ว่า สิ่งที่ทำมาทั้ง 4 วันนั้น มันใช่หรือไม่
และควรจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ซึ่งตรงนี้กำลังอ่านอยู่เลย แต่สามารถสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้
- วันจันทร์ ทำความเข้าใจกับเป้าหมาย และ ปัญหา เพื่อให้เห็นว่าอะไรที่สำคัญ และกำลังจะทำอะไรกัน
- วันอังคาร ทำการคิดและเขียน solution ต่าง ๆ ออกมา ซึ่งเขียนบนกระดาษ
- วันพุธ ทำการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เพื่อเปลี่ยนจากแนวคิดมาเป็นสิ่งที่สามารถนำไปทดสอบได้
- วันพฤหัสบดี ทำการสร้างและพัฒนาออกมาเป็น prototype ที่ใช้งานจริงได้
- วันศุกร์ ทำการทดสอบกับผู้ใช้งานจริง ๆ
โดยรวมแล้วเป็นหนังสือแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีมาก
ได้เห็นและเข้าใจที่ไปที่มาของแนวคิด
ว่าลองผิดลองถูกมาอย่างไรบ้าง
และเป็นหนึ่งแนวทางของการทำงานเท่านั้น
เพื่อทำให้คุณทำงานได้อย่างรวดเร็ว
และทำให้คุณมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ทำมันยังอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง
ใครสนใจก็ลองไปซื้อหามาอ่านกันได้
ผมว่าหลาย ๆ คนน่าจะชอบนะครับ
Reference Websites
http://www.thesprintbook.com/