ตอนนี้
Jenkins 2.0 Preview ถูกปล่อยออกมาเพื่อให้ทดสอบใช้งานกันแล้ว
โดยใน version ใหม่นี้ทำการปรับปรุงความสามารถหลายอย่าง
ทั้งเรื่องของ
- Delivery pipeline ซึ่งจัดการด้วย code กันเลย
- การติดตั้งแบบใหม่ มีให้เลือก plugin ก่อนด้วย
- ทำการปรับปรุง User Interface และ Usability ต่าง ๆ อีกด้วย
- ยังทำงานกับ version เก่า ๆ ได้
ดังนั้นมาดูรายละเอียดในแต่ละข้อกันดีกว่า
ว่าด้วยเรื่องของ Delivery pipeline
เป็นปัญหาหลัก ๆ ของ Jenkins สำหรับจัดการเรื่อง
Continuous Integration ไปจนถึง Continuous Delivery/Deployment
เนื่องจากจัดการได้ยาก แถมยังต้องติดตั้ง plugin อื่น ๆ อีก
ดังนั้นจึงต้องการรูปแบบการจัดการที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งยังสามารถ visualize delivery pipeline ได้อีก
โดยใน Jenkins 2.0 จึงทำการเพิ่ม Delivery pipeline เข้ามา
สำหรับการสร้าง Job/Item กันไปเลย
เรียกว่า
Pipeline plugin ซึ่งจะเขียนด้วย DSL (Domain Specific Language)
รวมทั้งเขียนด้วยภาษา Groovy ได้ด้วย
ทำให้เราสามารถออกแบบ และ สร้าง pipeline การส่งมอบระบบด้วย code กันไปเลย
มันง่ายหรือเปล่าต้องลองดูกันเอง
ตัวอย่างของ Android project
[gist id="6313e435bf53a6cc7b3e" file="Jenkinsfile"]
มี Pipeline Stage View ให้ใช้งานกันอีก
มันคือ visualize ของการทำงานนั่นเอง
ยังไม่พอนะ สำหรับแฟน ๆ ของ Git และ Github ได้สบายกันล่ะ
เนื่องจากจะเป็น plugin ที่ build in มาให้กันไปเลย
ทำให้จัดการได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
มาดูในส่วนของการปรับปรุง Usability กันบ้าง
เนื่องจากมีเสียงบ่นอย่างมากสำหรับคนใช้งาน Jenkins
นั่นก็คือ มัน plugin ให้ใช้งานจำนวนมาก
คำถามคือ แล้วเราต้องใช้ plugin อะไรบ้างล่ะ ?
ดังนั้นใน version นี้จึงเพิ่มหน้าจอ สำหรับการแนะนำ plugin สำหรับการเริ่มต้น
ให้ผู้ใช้งานเลือกติดตั้งตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน
แสดงดังรูป
อีกทั้งยังทำการปรับปรุง User Interface ในหน้าต่าง ๆ อีก
ตัวอย่างเช่นหน้า Configuration ของแต่ละ Item/Job
แสดงดังรูป
มาลองติดตั้งและใช้งาน Jenkins 2.0 Preview กันดีกว่า
ให้ทำการ
Download จากที่นี่
หรือไปที่
Jenkins 2.0 preview
จากนั้นก็เลือก package ตาม OS ที่ต้องการกันไปเลย
ทำการ start Jenkins server ซึ่งผมใช้ war file ก็ทำดังนี้
[code]$java -jar jenkins.war[/code]
เข้าใช้งานที่ http://localhost:8080 ก็จะเจอหน้านี้
ครั้งแรกน่าจะงงกันหน่อย เพราะว่า จะเอา security code มาจากไหนกัน ?
แต่ไม่ต้องตกใจไปเอามาจาก log file หรือ console ของ Jenkins นั่นเอง
จากนั้นเข้าสู่หน้าแนะนำ plugin และ ติดตั้งกัน
แนะนำให้เลือก
Install suggested plugins
แล้วจะมี feature ให้ใช้เยอะมาก ๆ
ทำการติดตั้ง plugin
ต่อมาให้ทำการสร้าง username ที่เป็น Admin เพื่อจัดการระบบ
ถือว่าเป็นการปรับปรุงเรื่อง security ของ Jenkins กันเลยทีเดียว
เข้าสู่หน้าหลักของ Jenkins
พบว่ายังคงหน้าตาเหมือนกับ version ก่อนหน้า
จากการทดลองใช้งาน Jenkins 2.0 preview มา
ก็หน้าตาดูดีขึ้นมา จัดการ plugin ได้ดี
ส่วนเรื่องอื่น ๆ ต้องลองใช้งานกันต่อไป
ส่วนแผนการพัฒนา feature ต่าง ๆ
ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่